อุ่นเล่าเรื่อง : Cushion Package ตอนที่ 2 Cushion กับกระแสรักษ์โลก

ผู้เขียนได้มีโอกาสฟังการบรรยายของ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ อัจฉริยะบุคคลของไทย ที่กล่าวถึงทฤษฎีของ Hermawan Kartajaya ที่ว่าด้วยทักษะของมนุษย์ มี 2 แบบ คือ CIEL (Creativity ความคิดสร้างสรรค์, Innovation นวัตกรรม, Entrepreneur สร้างกิจการได้, Leadership ความเป็นผู้นำ) กับ PIPM (Productivity เน้นผลผลิต-โรงงาน, Improvement QCDS-Kaizen, Professional ผู้ชำนาญการ-KPI, Management การจัดการ-เครื่องจักรทำแทนได้)

บ้านเราและหลายประเทศในแถบนี้ ได้ถูกบ่มสอนในแนวทาง PIPM และปฏิบัติกันมานานหลายสิบปี ตามแนวทาง OEM ที่ทำให้เรามีความถนัดเฉพาะด้านนี้ ส่วนแนวทาง CIEL มีการใช้บ้างแต่ก็จะตรงข้ามกับ PIPM ตัวอย่างเช่น หลายครั้งที่ทำธุรกิจ สนใจใน Productivity มากจนขาด Creativity ไป, ทำ Kaizen Improvement ลดต้นทุน จนไม่สนใจ Innovation เป็นต้น ลองไปหาอ่านกันเพิ่มเติมนะครับ 

เกริ่นมาสักยาว ด้วย มุมมองผู้ประกอบการคิดว่าบรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งสิ้นเปลือง ไม่ได้เกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ จึงใฝ่หาแต่บรรจุภัณฑ์ที่มีราคาถูก ไม่คิดวิธีการสร้างสรรค์โดยใช้บรรจุภัณฑ์มาเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เรียกราคาได้สูงขึ้น เข้าใจว่ากำลังค้นหา Creative หรือ Innovation Packaging กันอยู่ อาจจะด้วยผู้ประกอบการบ้านเราเป็น EOM based กันมานาน ต้องทำราคาถูก ต้องทำเยอะๆ เป็น Mass เรียกได้วาถูกฝังอยู่ใน DNA แล้ว แต่ขณะนี้แรงกดดันจากกระแสรักษ์โลก ทั้ง Ecosystem ของวงการบรรจุภัณฑ์ ก็ยังขยับกันไม่มากเท่าที่ควร ด้วยต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ที่รักษาสิ่งแวดล้อมสูงกว่าปกติ เป็นต้น เรียกได้ว่าจะไปทางไหนดี ดิ้นรนหา order มาหล่อเลี้ยงกัน ผู้เขียนเคยลองเปรียบเทียบในเรื่องต้นทุนของบรรจุภัณฑ์กับราคาสินค้า ตัวเลขกลมๆ อยู่ที่ 5% บวกลบ ลองนึกถึงขวดน้ำหอม ราคาห้าพันบาท ค่าบรรจุภัณฑ์เท่าไหร่ กระเป๋าสตรี Luxury Brand ใบละสามแสนบาท หรือใบละล้านบาท คิดว่าค่าบรรจุภัณฑ์เท่าไหร่ ลูกอม เม็ดละ 2 บาท ค่าบรรจุภัณฑ์เท่าไหร่ ทางออกที่จะอยู่รอดในยุคนี้ คือสร้างความแตกต่าง สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ เพิ่มคุณค่าของสินค้า ให้กับลูกค้า ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่มี Creative มี Innovation หากคำนึงแต่ต้นทุนที่มีราคาถูกก็จะอยู่วังวนและสู้กับคู่แข่งยักษ์ใหญ่ไม่ได้

ขออภัยนะครับ นอกเรื่องไม่สักไกล กลับมาคุย Cushion กันครับ

เราเห็นความเอาใจใส่ ความพิถีพิถัน เอาจริงเอาจังกับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการออกแบบ Cushion ฝารองนั่งโถส้วมอัจฉริยะ ของ TOTO ทุกกระบวนการผ่านการทดสอบที่หลากหลาย เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการออกแบบ Cushion นี้สามารถ Deliver สินค้าถึงผู้บริโภคได้อย่างสมบูรณ์ ไม่มีส่วนใดเสียหาย

TOTO เป็นบริษัทหนึ่งในผู้นำด้านสุขภัณฑ์ระดับโลก มีสินค้าสุขภัณฑ์ไฮเทค ผสมผสานกับบุคลิกวัฒนธรรมพื้นฐานของคนญี่ปุ่นในความพิถีพิถัน เอาใจใส่ในรายละเอียดมาก วางตำแหน่งสินค้าในระดับ Premium มีราคาค่อนข้างสูง จึงทำให้การออกแบบบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่ในกระบวนการผลิต การจัดเก็บ การขนส่ง และการติดตั้ง ต้องพิถีพิถัน ตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบการผลิตที่จะมาผลิตบรรจุภัณฑ์ การออกแบบ สีบรรจุภัณฑ์ การบ่งชี้ ตำแหน่งข้อความ การติดสติกเกอร์ ถุงบรรจุชิ้นส่วนประกอบ จนได้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสินค้าที่ Premium ที่ถูกบรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ TOTO เป็นพันธมิตรกับ SCG เข้าใจว่ามาช่วยพัฒนาสุขภัณฑ์แบรนด์ COTTO ที่ขายดีในไทยและต่างประเทศ ปัจจุบัน TOTO ได้ย้ายฐานการผลิตสินค้าสุขภัณฑ์ที่เป็นฝาชักโครกรองนั่งแบบอัจฉริยะ ใกล้โรงงาน COTTO ในนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดสระบุรี เวลาเขาเตรียมตัวย้ายฐานการผลิต ถึง 2 ปี จะมาเตรียมตัวพื้นที่สร้างโรงงาน ตัวโรงงาน เครื่องจักร บุคคลากรและที่สำคัญคือ Supply Chain รวมถึงบรรจุภัณฑ์ด้วย หลังจากที่เขาตัดสินใจว่าจะขยายฐานในแผนธุรกิจในต่างประเทศ  

ผู้เขียนเคยฟังตอนโรงงานผลิตรถยนต์ BMW ที่เน้นการประกอบ Series 7 ที่เป็นเรือธงของค่ายนี้ มาตั้งโรงงานในไทยที่จังหวัดระยอง เขาวางแผนตั้งโรงงานมาหลายปี เพื่อตัดสินใจจึงดำเนินการซื้อที่ดินไว้ ตรวจสอบเรื่องพื้นที่ ระดับความสูงกันน้ำท่วม ระบบ Supply Chain, ระบบ Logistics อย่างละเอียด เมื่อพื้นที่เตรียมการพร้อม อาคารแรกที่เขาสร้างคือ Training Center ที่มีทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ รับสมัครเจ้าหน้าที่เทคนิค วิศวกร เพื่อมาฝึกการประกอบจริง ล่วงหน้า 2 ปี เมื่อบุคลากรพร้อม ค่อยสร้างโรงงานประกอบ (ออกนอกเรื่องอีกแล้ว)

Cushion Design Competition

ขออนุญาตเล่าเรื่องการแข่งขันการออกแบบ Cushion ระดับนานาชาติของบริษัทที่เคยทำงานอยู่ ท่านประธานให้แต่ละสาขาของบริษัทที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ (มี 2 สาขา) เวียดนาม อินโดนิเซีย ญี่ปุ่น เม็กซิโก และ ไทย นำ Packaging Designer ของแต่ละประเทศออกแบบ Cushion เพื่อนำมาแข่งขันระหว่างกัน ในแต่ละปี ก่อนที่ผู้เขียนเข้ามาร่วมงาน ได้มีการแข่งขัน การออกแบบ Cushion ป้องกัน ไข่ไก่ โดยมีเงื่อนไขว่า Cushion ที่มาป้องกันต้องเป็นกระดาษ จะต้องไม่ใช้กาว หรือ Max เย็บ ต้องเป็น Glueless  ภายในบรรจุไข่ไก่ 1 ฟอง ครั้งแรกโยนจากระดับ 5 เมตร ต่อไป เป็น 10 เมตร อย่างปีนไปบนหลังคาโรงงาน จากนั้นก็ขยามความสูงไปเป็น 100 เมตรและครั้งสุดท้ายสูง 200 เมตรจากพื้นโดยประมาณ ด้วยเฮลิคอปเตอร์ ไข่ไก่ภายในต้องไม่แตก แค่ฟังก็ตื่นเต้นกับ Packaging Designer จริงๆ (Packaging Designer เรียกได้ว่า เป็น Packaging Design Engineer)

ปีต่อมาก็นำผลงานที่ทำให้ลูกค้าจริงมาประชันฝีมือกัน (เป็นกิจกรรมภายในบริษัท ไม่ได้เผยแพร่ไปที่สาธารณะ) หัวข้อตัดสินคือ สินค้าไม่เสียหาย Projection, สามารถผลิตได้ Production, ต้นทุนที่เหมาะสม Cost, ความพึงพอใจของลูกค้า Customer Satisfaction งานนี้สนุกมากครับ สิ่งที่กลับมาคือการสร้างบุคลากรด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ กำลังใจ เป็นกิจกรรมที่ท้าทาย ตื่นเต้น และมีผลต่อบริษัทได้มาก ท่านใดสนใจสามานำไปใช้ได้ ไม่มีลิขสิทธิ์ครับ 

ปกติการออกแบบบรรจุภัณฑ์ หากใช้ภายในโรงงาน เขาจะมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ หรือ Standard Packaging เมื่อสินค้าเปลี่ยนไป สินค้าใหม่มา ขนาดสัดส่วนอาจแตกต่างไป เขาจะออกแบบเฉพาะ Cushion เพื่อรองรับป้องกันสินค้าระหว่างที่เคลื่อนย้ายในโรงงาน หรือรอการประกอบ

บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก 1

  1. หลอดบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากอ้อย เข้าใจว่ายังอยู่ Lab Scale ยังไม่ Commercial
  2. บรรจุภัณฑ์ป้องกันไข่ คงเห็นมาบ้างกันแล้ว เข้าใจว่าต้นทุนยังสูงกว่าปกติอยู่เล็กน้อย แต่ก็มีเริ่มใช้กันบ้าง
  3. บรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระดาษ บรรจุเครื่องดื่ม ก็ยังไม่แพร่หลาย น่าจะเป็น Lab Scale อยู่
  4. Cushion ที่ทำมาจากเห็ด เห็นมีวางในห้าง IKEA กันแล้ว ไม่ได้ติดตามว่าช่วยส่งเสริมการขายมากน้อยแค่ไหน
  5. จานชามที่ทำมาจากข้าวโพด ก็มีออกจำหน่ายมาแล้ว ราคาสูงกว่าเล็กน้อย SME ก็มีทำมาจากเยื่อชานอ้อย เยื่อไผ่ ฟางข้าว แบรนด์ GRACE ได้รับการยอมรับทั้งในไทยและต่างประเทศ ถึงจะมีราคาสูงกว่าปกติเล็กน้อย
  6. ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากใบสัปปะรด ยังไม่เห็นแพร่หลายในไทย แต่ที่รู้มาที่ประเทศฟิลิปปินส์ แพร่หลายกันมาก

บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก 2

  1. Cushion ที่ทำมาจากส่วนผสมของถั่ว และมาทำเป็นย่อยสลายได้เมื่อมี condition ที่เหมาะสม เช่น ฝังดิน ไม่มีแสง มีแบคทีเรีย หรือถูกแสงแดด ในช่วงเวลาที่เหมาะ
  2. Plastic Bubble ที่ผสมวัตถุดิบ Recycle เช่น 30% หรือ 50% เรียกได้ว่า rBubble < แฮะๆ ขอนอกเรื่องหน่อยนะ คือมีบริษัทที่ขายกลิ่น อย่างแบรนด์ Grade เขามีการส่งเสริมการขาย โดยการ Collaboration กับบริษัท Logistics ทำ Bubble ที่บรรจุกลิ่น เมื่อลูกค้าได้รับสินค้าแล้ว ก็จะมีโน้ตเล็กๆบอกว่า ลองบีบดูสิ เมื่อบีบแตกก็จะมีกลิ่นโชยหอมออกมาทั้งห้อง เป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้าเป็นอย่างดี เมื่อลูกค้าชอบกลิ่นนี้ก็จะรีบไปซื้อมาใช้ ความคิดสร้างสรรค์มีอยู่รอบตัวเราครับ
  3. ถุงย่อยสลาย ด้วยแสง ด้วยฝังดิน ด้วยอายุ ถุงแบบนี้ยังมีราคาแพงอยู่ครับ จำเป็นต้องมีการบ่งชี้ให้ชัดเจน เมื่อเลยเวลาถุงก็สลายเลย ผู้เขียนได้รู้ว่าตอนก่อนการระบาดโควิด 19 สายการบินชั้น Frist Class มีการใช้ถุงย่อยสลายบนเครื่อง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับสายการบิน เข้าใจว่าหลังโควิดน่าจะไม่ได้ใช้แล้ว
  4. Corrugated Bubble Warping เป็นการนำกระดาษลอนลูกฟูกมาใช้ ทดแทน Plastic Bubble ราคาสูงกว่าครับ เลือกใช้ได้เมื่อต้องการสร้างภาพลักษณ์
  5. Seaweed Packaging ถุงบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากสาหร่าย ที่สามารถทานได้ เข้าใจว่า ยังไม่ Commercial ด้วยต้นทุน และเก็บรักษา

Cushion กับ กระแสรักษ์โลก

มีหลายหน่วยงาน หลายองค์กร ที่พยายามสร้างนวัตกรรมที่จะผลิต Cushion นำมา Recycle, ย่อยสลาย Decompose มากพอควร แต่ก็ยังไม่เห็นเป็น Commercial อย่างแพร่หลาย ด้วยวัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิต มีต้นทุนสูงกว่า raw mat ปกติที่ใช้กันเป็นเพียงรณรงค์กันทำ CSR  การรวมกลุ่ม หรือ Ecosystem ของบ้านเรายังไม่แข็งแรง ต่างคนต่างทำ แต่ก็มีแนวโน้มการเติบโตขึ้นในอนาคตอันใกล้

หากท่านผู้อ่านมีความคิดเห็นที่แตกต่าง สามารถมาท้วงติง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ข้อมูลของผมอาจจตกหล่น และคอยติดตามอุ่นเล่าเรื่องในครั้งต่อไป ขอขอบพระคุณมากที่คอยติดตามครับ

หมายเหตุ ภาพฝาโถส้วมรองนั่งอัจฉริยะนำมาจาก web site TOTO Thailand ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

*** สำหรับท่านที่พลาดการติดตามเนื้อหา อุ่นเล่าเรื่อง : Cushion Packaging ตอนที่ 1 ส่งสินค้าอย่างไรไม่เสียหาย? สามารถติดตามได้จากลิงก์นี้ครับ https://thaipda.or.th/cushionpack1/

Picture of โชตินรินทร์ วิภาดา

โชตินรินทร์ วิภาดา

อุ่นเล่าเรื่อง เป็นบทความแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทาน ที่น่าจะประโยชน์ต่อ SME วิสาหกิจชุมชน หรือองค์กรที่กำลังพัฒนาสินค้า อาหารและการบริการให้กับคนในชุมชนได้มีอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม ซึ่งอาจจะใช้ชื่อ สัญญลักษณ์ บุคคล หรือองค์กรเพื่อให้เกิดภาพตัวอย่างที่จับต้องได้ ในความสำเร็จที่เกิดขึ้น เป็นแรงผลักดันให้SME วิสาหกิจชุมชน หรือองค์กรได้ก้าวต่อไป โดยผู้เขียนไม่มีเจตนาที่จะละเมิดลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้าใดๆ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top